รายละเอียดของรายวิชา
การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คณะ/สาขาวิชา คณะศึกษาศาสตร์/สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
หมวดที่ 1
ข้อมูลโดยทั่วไป
1.
รหัสและชื่อรายวิชา
EAED 3302 การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
2. จำนวนหน่วยกิต
3 (3-0-6)
3.
หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
ครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกบังคับ
4.
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์กมลวรรณ อังศรีสุรพร
5.
ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน
ภาคการศึกษาที่
2 / 2560
6.
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
ไม่มี
7.
รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)
ไม่มี
8.
สถานที่เรียน
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
9.
วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
วันที่ 3 เดือน
มกราคม พ.ศ. 2560
หมวดที่ 2
จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
๑.จุดมุ่งหมายของรายวิชา
หลังจากการศึกษารายวิชานี้แล้ว ผู้เรียนมีพฤติกรรมดังนี้
1.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1.1.1 มีความซื่อสัตย์
สุจริต และเสียสละ
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา
และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3 เคารพสิทธิ
และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.1.4 เคารพกฎระเบียบ
และข้อบังคับต่าง ๆ ของสาขาวิชา คณะฯ และมหาวิทยาลัย
1.1.5 มีสัมมาคารวะให้ความเคารพต่อครู อาจารย์
และผู้อาวุโส
1.2 ด้านความรู้
1.2.1 มีความสามารถในการอธิบายเกี่ยวกับแนวคิด
หลักการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินพัฒนาเด็ก
1.2.2 สามารถวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการให้การประเมินพัฒนาการเด็ก
1.2.3 สามารถบอกหลักการเบื้องต้นในการให้การประเมินพัฒนาการเด็ก
1.2.4 มีความสามารถในการสื่อสารกับผู้ปกครอง
และสามารถประเมินพัฒนาการเด็ก
1.3.1 สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดแก้ปัญหา
คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ คิดอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประเมินพัฒนาการเด็ก
1.3.2 สามารถสืบค้น ตีความ
ประเมินปัญหาสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการให้การประเมินพัฒนาการเด็ก
1.3.3 สามารถวิเคราะห์ปัญหา สรุปปัญหา ความต้องการเพื่อนำไปใช้พัฒนาตนเอง
1.3.4 สามารถประยุกต์ นำความรู้ไปใช้ในการประเมินพัฒนาการเด็ก
1.4
ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
1.4.1 สามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร
การนำเสนอได้ถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
1.4.2 สามารถให้ความช่วยเหลือ
ร่วมมือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งบทบาทการเป็นผู้นำ
และผู้ร่วมงาน และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปฐมวัย
รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง
1.4.3 สามารถเป็นผู้ริเริ่มประเด็นปัญหา
และหารือแนวทางแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ
ทั้งของตนเองและกลุ่ม
1.4.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ของตนในวิชาชีพครูปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง
|
1.5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร
และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.5.1 มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นในปัจจุบัน
เพื่อการศึกษาค้นคว้า และเรียนรู้
ประสบการณ์ในการเรียนรายวิชา ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
1.5.2
สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อมานำเสนอได้อย่างเหมาะสม
1.5.3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น
การนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
๒.วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
๒.๑ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญและความจำเป็นของการประเมินพัฒนาการเด็ก
๒.๒ เพื่อให้นักศึกษาสามารถประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้
๒.๓ เพื่อให้นักศึกษาสามารถออกแบบสร้างเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
|
หมวดที่ 3
ลักษณะและการดำเนินการ
1.
คำอธิบายรายวิชา
EAED 3302 การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย 3 (3-0-6)
Assessment for
Early Childhood
ความหมาย
ความสำคัญ แนวคิด หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย คุณลักษณะตามวัยของเด็กปฐมวัย รูปแบบและเทคนิคการประเมินพัฒนาการด้านต่าง ๆ
เช่น ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา การวิเคราะห์พัฒนาการเด็กปฐมวัย
การสร้างและใช้เครื่องมือประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย
การทำพอตโฟลิโอสำหรับเด็กปฐมวัย การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามสภาพจริง
และการรายงานผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยสู่ผู้ปกครอง
2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
|
สอนเสริม
|
การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน
|
การศึกษาด้วยตนเอง
|
บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
|
-
|
-
|
6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
|
2.
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
กิจกรรม
|
วัน/เวลา
|
สถานที่สำหรับนักศึกษาขอคำปรึกษา
|
นักศึกษาขอคำปรึกษา
|
หมายเหตุ
|
1.ศึกษาค้นคว้า
2.การประเมินพัฒนาการ
3.การสร้างเครื่องมือประเมินพัฒนาการ
4.แปลผลพัฒนาการ
|
จันทร์-ศุกร์
เวลา 09.00 – 16.30 น.
|
- ห้องเรียนคณะ
ศึกษาศาสตร์
- ห้องพักอาจารย์
|
- รายบุคคล
- เป็นกลุ่ม
|
|
หมวดที่ 4
การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
การเรียนรู้ที่ต้องการพัฒนา
|
วิธีการสอน
|
วิธีการประเมินผล
|
1. คุณธรรม จริยธรรม
คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1. ปลูกฝังความมีวินัย
ใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ ความมีน้ำใจและการตรงต่อเวลา
|
1. สอดแทรกระหว่างการเรียนการสอนในทุกครั้ง
2. การแสดงความคิดเห็นในเรื่องความมีวินัย
ใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ความรับผิดชอบความมีน้ำใจและการตรงต่อเวลา
3.การปฏิบัติตนและเป็นตัวอย่างที่ดีของอาจารย์ผู้สอน
|
1.พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและระหว่างเรียน
|
2. ความรู้
ความรู้ที่ต้องได้รับ
1.
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ
หลักการและแนวคิดของการศึกษาพฤติกรรมเด็กปฐมวัย พัฒนาการเด็กปฐมวัย ลักษณะของพฤติกรรมเด็กปฐมวัย สมรรถนะเด็กปฐมวัย วิธีการศึกษาพฤติกรรมเด็กปฐมวัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมเด็ก
การเขียนบันทึก การแปลความหมายพฤติกรรม
การสะท้อนตนเอง การรายงานผลการศึกษาพฤติกรรมเด็กปฐมวัย
และการปรับใช้เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
|
1.
การบรรยาย การอภิปราย สาธิต ฝึกปฏิบัติ การทำรายงานกลุ่มและรายงานเดี่ยว
การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การค้นคว้าด้วยตัวเองและการศึกษาพฤติกรรม
|
1.
ประเมินผลจากการเข้าชั้นเรียน การอภิปราย การทำรายงาน การค้นคว้า
การฝึกปฏิบัติและการสอบกลางภาคและปลายภาค
|
3. ทักษะทางปัญญา
ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
1. การคิดวิเคราะห์
สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์และบูรณาการองค์ความรู้จากการวิพากษ์ งานวิจัย
ทฤษฎีและประเด็นปัญหาพฤติกรรมของเด็กปฐมวัย
2. รู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานี้
|
1. ใช้กระบวนการกลุ่มในการอภิปราย
สะท้อนความคิด การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ งานวิจัย บทความ และการศึกษาพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
และการไตร่ตรองสะท้อนตนเอง
2. ฝึกเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานี้
|
1. ประเมินผลจากการแสดงความคิดเห็นการอภิปราย
การรายงานเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ สังเกตพฤติกรรม
การทดสอบระหว่างภาคเรียนและการทดสอบปลายภาคเรียน
2. ทดสอบเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานี้
|
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
1.
มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อน
มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบ ความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์
|
1.
ทำกิจกรรมกลุ่มรูปแบบต่างๆ
|
1.
สังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในขณะทำกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมเดี่ยว
|
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
1.
ใช้ภาษาพูด ภาษาเขียนในการสื่อสาร
ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล
และการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ และการถ่ายทอดสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
1.
สอนโดยใช้ Power
point ประกอบการบรรยาย การทำรายงานโดยศึกษาค้นคว้าจากงานวิจัย
เอกสาร บทความ ตำรา อินเตอร์เน็ต
|
1.
ประเมินจากการนำเสนอผลงานจากการปฏิบัติจริง
|
หมวดที่ 5
แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอน
สัปดาห์ที่
|
เนื้อหาสาระ
|
กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อสารเรียนการสอน
|
1
|
1.
แนะนำรายวิชา วิธีการเรียน การวัดผลประเมินผล งานที่มอบหมาย ข้อตกลง วิธีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
เวลาเรียน ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา
2.
อภิปรายประเด็นเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ
การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
|
1.
แนวการสอน
2.
ประเมินความรู้เดิม
3. นำเสนอด้วย
สไลด์อิเล็กทรอนิกส์
4.
แนะนำตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
|
2
|
1
แนวคิดพื้นฐานของการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
-
ความหมายของการวัด การประเมินและการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
-
ความสำคัญของการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
-
จุดมุ่งหมายของการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
-
หลักการและแนวคิดการประเมินพัฒนาการ เด็กปฐมวัย
-
ประเภทของการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
|
1.
นำเสนอด้วย
สไลด์อิเล็กทรอนิกส์
2. แบ่งกลุ่มสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อที่กำหนด
3.
อภิปรายและสรุปความรู้ของกลุ่ม
4.
นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการสรุปความรู้
5.
ทำแบบฝึกหัดท้ายบท
|
3 - 5
|
2
ขอบข่ายของการประเมินพัฒนาการ
เด็กปฐมวัย
-
การประเมินพัฒนาการด้านร่างกายเด็กปฐมวัย
-
การประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ
เด็กปฐมวัย
-
การประเมินพัฒนาการด้านสังคมเด็กปฐมวัย
-
การประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญาเด็กปฐมวัย
|
1.
นำเสนอด้วย
สไลด์อิเล็กทรอนิกส์
2. สืบค้นข้อมูลขอบข่ายการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
3.
แบ่งกลุ่มระดมสมองคิดวิธีการนำเสนอหัวข้อขอบข่ายการประเมินพัฒนาการ
4.
แสดงบทบาทสมมติพัฒนาการเด็กตามขอบข่ายพัฒนาการในแต่ละด้าน
5.
ทำแบบฝึกหัดท้ายบท
|
6
- 7
|
3 การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
- ทฤษฎีความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
- หลักพัฒนาการเด็กปฐมวัย
- ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย
- การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
|
1. นำเสนอด้วย
สไลด์อิเล็กทรอนิกส์
2. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
3. วิเคราะห์และสรุปทฤษฎี
|
สัปดาห์ที่
|
เนื้อหาสาระ
|
กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อสารเรียนการสอน
|
|
|
4. นำเสนอวิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
5. ทำแบบฝึกหัดท้ายบท
|
|
สอบกลางภาค
|
|
9 - 10
|
4
วิธีการและเครื่องมือการประเมินพัฒนาการ
- วิธีการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
- หลักการประเมินผลพัฒนาการ
- ขั้นตอนการประเมินผลพัฒนาการ
- เครื่องมือการประเมินพัฒนาการ
- ความหมายของเครื่องมือประเมินพัฒนาการ
- ความสำคัญของเครื่องมือประเมินพัฒนาการ
- ประเภทของเครื่องมือประเมินพัฒนาการ
- หลักการเลือกใช้เครื่องมือประเมินพัฒนาการ
|
1.
นำเสนอด้วย
สไลด์อิเล็กทรอนิกส์
2. วิเคราะห์หลักการประเมินผลพัฒนาการ
3. ฝึกปฏิบัติสร้างเครื่องมือ การประเมินพัฒนาการ
4. นำเสนอเครื่องมือการประเมินพัฒนาการ
5. ทำแบบฝึกหัดท้ายบท
|
11 - 12
|
5
การสังเกตพัฒนาการเด็กปฐมวัย
-
ความหมายของการสังเกตพัฒนาการเด็กปฐมวัย
- ความสำคัญของการสังเกตพัฒนาการเด็กปฐมวัย - จุดมุ่งหมายของการสังเกตพัฒนาการเด็กปฐมวัย
-
เครื่องมือที่ใช้ในการสังเกตพัฒนาการเด็กปฐมวัย
-
ประโยชน์ของการประเมินด้วยการสังเกต
|
1. นำเสนอด้วย
สไลด์อิเล็กทรอนิกส์
2.
วิเคราะห์และเลือกใช้เครื่องมือที่ใช้ในการสังเกตพัฒนาการเด็กปฐมวัย
3.
ฝึกสังเกตพัฒนาการเด็กปฐมวัย
4.
ทำแบบฝึกหัดท้ายบท
|
13
|
6
การประเมินสภาพจริงและพอตโฟลิโอ
- ความหมายของการประเมินสภาพจริง
- จุดมุ่งหมายของการประเมินสภาพจริง
- ลักษณะของการประเมินสภาพจริง
- วิธีการประเมินสภาพจริง
- ความหมายของพอตโฟลิโอ
- หน้าที่ของพอตโฟลิโอ
- รูปแบบของพอตโฟลิโอ
- ประเภทของพอตโฟลิโอ
|
1. นำเสนอด้วย
สไลด์อิเล็กทรอนิกส์
2.
วิเคราะห์ลักษณะและวิธี
การประเมินสภาพจริง
3.
วิเคราะห์และสรุปวิธี
การประเมินสภาพจริง
4. แบ่งกลุ่มจัดทำพอตโฟลิโอของเด็กปฐมวัย
5.
ทำแบบฝึกหัดท้ายบท
|
สัปดาห์ที่
|
เนื้อหาสาระ
|
กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อสารเรียนการสอน
|
14 - 15
|
7
การจัดทำสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย
- ความหมายของสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย
- ความสำคัญของสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย
- จุดมุ่งหมายของสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย
- ประเภทของสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย
- การเตรียมการจัดทำสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย
- การทำสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย
- หลักการจัดแสดงสารนิทัศน์
-
การใช้สารนิทัศน์เพื่อการประเมินและสร้างเสริมพฤติกรรมเด็กปฐมวัย
|
1.
นำเสนอด้วย
สไลด์อิเล็กทรอนิกส์
2. ศึกษาตัวอย่างสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัยแต่ละประเภท
3.
ฝึกเขียนสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัยแต่ละประเภท
4.
ทำแบบฝึกหัดท้ายบท
|
16
|
8 การเขียนรายงานการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
-
ความหมายของการรายงานผลการประเมิน
- แนวคิดการจัดทำรายงานผลการประเมิน
- รูปแบบของการเขียนรายงานผลการประเมิน
- วิธีการรายงานผลการประเมิน
- การใช้ผลการประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
|
1.
นำเสนอด้วย
สไลด์อิเล็กทรอนิกส์
2. วิเคราะห์วิธีการรายงานผลการประเมิน
3.
ฝึกปฏิบัติการรายงานผล การประเมิน
4.
ทำแบบฝึกหัดท้ายบท
|
|
สอบปลายภาค
|
* บูรณาการการฝึกเขียนศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานี้
ทุกสัปดาห์
2 แผนการประเมินผลการเรียนรู้
กิจกรรมที่
|
ผลการเรียนรู้
|
วิธีการประเมิน
|
สัปดาห์ที่ประเมิน
|
สัดส่วนการประเมิน
|
1
|
คุณธรรม
จริยธรรม
|
-สังเกตพฤติกรรม
-บันทึกพฤติกรรม
-แจ้งให้นักศึกษาทราบเป็นรายบุคคล
-สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
ปรับปรุงพฤติกรรมหลังจากรับทราบข้อควรปรับปรุงจากอาจารย์
|
ทุกสัปดาห์
|
20
|
2.
|
ความรู้
|
-การไตร่ตรองสะท้อนตนเองของนักศึกษา
-การฝึกปฏิบัติ
-การทดสอบระหว่างภาค
-การทดสอบปลายภาค
-
การทดสอบเขียน* เขียนศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานี้
ทุกสัปดาห์
|
ทุกสัปดาห์
7
16
|
20
20
30
|
3.
|
ทักษะทางปัญญา
|
-การไตร่ตรองสะท้อนตนเองของนักศึกษา
-การฝึกปฏิบัติ
-การทดสอบระหว่างภาค
-การทดสอบปลายภาค
|
ทุกสัปดาห์
7
16
|
20
20
30
|
4.
|
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
|
-สังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกับเพื่อน
การปฏิบัติกิจกรรม
-การตรงต่อเวลา
|
ทุกสัปดาห์
|
10
|
5.
|
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
|
-สังเกตการณ์ปฏิบัติ
การนำเสนอ การสืบค้น
-การใช้ภาษาที่ถูกต้อง
เหมาะสม
|
ทุกสัปดาห์
|
10
|
หมายเหตุ : สัดส่วนการประเมินผลการเรียนรู้
1.
คุณธรรมจริยธรรม 20 %
2. ความรู้ ปัญญาและการจัดการเรียนรู้ 60
%
3.
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 10 %
และความรับผิดชอบ
4.
ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข 10 %
การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
หมวดที่ 6
ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
ตำราหลัก
คณะกรรมการการศึกษาเอกชน.สำนัก.(2546).
คู่มือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.
กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว.
จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2537). การพัฒนาและการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย. ประมวลสาระชุดวิชา
หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัย.
หน่วย 5-6
นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
นิตยา คชภักดี.(2543). ขั้นตอนการพัฒนาของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฎิสนธิ- 5 ปี. กรุงเทพฯ: คุรุสภา
ลาดพร้าว.
นิตยา ประพฤติกิจ.(2536). การพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
นันทิยา
น้อยจันทร์.(2548). การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย.
นครปฐม: สำนักพิมพิ์นิตินัย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.(2533). เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอนระดับปฐมวัยศึกษาหน่วย1-7.
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
โรงพิมพิ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.(2548). ประมวลสาระชุดวิชา การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หน่วย1-6
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สริมา
ภิญโญอนันตพงษ์.(2553). การวัดและการประเมินแนวใหม่: เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า
หมวดที่ 7
การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
1.1
ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
1.2
สะท้อนความคิดเห็นของนักศึกษาหลังการสอนทุกสัปดาห์
1.3
นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นในสัปดาห์สุดท้าย
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากคณาจารย์ผู้สอนปลายภาค
3. การปรับปรุงการสอน
3.1
นำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงการสอนและแนวการสอน
3.2
ค้นคว้าข้อมูลความรู้ใหม่ๆ และผลงานวิจัยมาใช้ในการสอน และการจัดกิจกรรม
3.3 กลุ่มคณาจารย์อภิปราย สัมมนาเพื่อพัฒนารายวิชาให้มีสาระและการสอนที่เหมาะสมกับหลักสูตรระดับปฐมวัย
และนำไปปฏิบัติได้จริงในสถานศึกษา
4.
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
4.1
ให้นักศึกษามีโอกาสได้ตรวจสอบคะแนนและเกรดก่อนส่งให้สำนักทะเบียนและประมวลผล
4.2 ก่อนสอบกลางภาคและปลายภาคจัดประชุมผู้สอนเพื่อออกข้อสอบร่วมกันและพัฒนาข้อสอบให้ได้มาตรฐาน
5.
การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
นำผลที่ได้จากการสอบถามที่ได้จากความคิดเห็น
คะแนนสอบของนักศึกษามาประชุมวิเคราะห์สรุปผลเพื่อพัฒนารายวิชาก่อนในภาคการศึกษาต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น