วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ที่ 4
เวลาเรียน 12:00-14:30 น.
วัน พุธ ที่ 31 เดือน มกราคม พ.ศ. 2561


ก่อนเริ่มเรียนอาจารย์ได้มีการพูดเนื้อหาคร่าวๆ ก่อนเริ่มเรียนเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน


อาจารย์แจกกระดาษให้คนต่อคน หรือ 1:1 ให้พับตามความใจตัวเอง จะพับยังไงก็ได้เวลาแกะกระดาษออกให้คงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า




เรียนเรื่องเกี่ยวพัฒนาการ 


การศึกษาปฐมวัยเป็นการศึกษาเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6ปีและเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กความต้องการของเด็ก สอนให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ฝึกพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เช่น พัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการทางด้านสังคม พัฒนาการทางด้านอารมณ์และพัฒนาการทางด้านจิตใจ เด็กจะเจริญเติบโตตั้งแต่อยู่ในครรภ์กระทั่งหลังคลอด ร่างกายและสมองจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 0-6 ปี แรกของชีวิต ขบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ การเจริญเติบโต และพัฒนาการ
(maturity) ของอวัยวะระบบต่างๆและตัวบุคคล ทำให้เพิ่ม ความสามารถของบุคคลให้ทำหน้าที่ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ ตลอดจนการเพิ่ม ทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวในภาวะใหม่ของบุคคลนั้น
พัฒนาการของเด็ก จะแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้
1. พัฒนาการด้านร่างกาย
2. พัฒนาการด้านสติปัญญา
3. พัฒนาการด้านอารมณ์
4. พัฒนาการด้านสังคม
พฤติกรรมและทักษะชีวิตของมนุษย์ได้จากการเรียนรู้และการสะสมประสบการณ์ การเรียนรู้ทักษะบางอย่างจะง่ายและ ประสบความสำเร็จในช่วงเวลาหนึ่งมากกว่าอีกเวลาหนึ่งและสังคมจะคาดหวังให้เด็กแต่ละคนทำพฤติกรรมที่เหมาะสมให้ได้ ในแต่ละช่วงอายุของบุคคล
พัฒนาการที่สำคัญในแต่ละวัย
วัยทารก (0-2 ปี) อายุ 0-6 สัปดาห์
เด็กมองหน้าแม่ ทำเสียงในลำคอ ฟังเสียงคุยแล้วยิ้มตอบ
อายุ 4-6 เดือน
จำหน้าแม่ได้ ส่งเสียงอ้อแอ้และยิ้มตามเสียง เด็กสามารถเอื้อมคว้าจับสิ่งของมาเข้าปาก
อายุ 6-9 เดือน
สามารถแยกเสียงของแม่ได้ เริ่มแยกแยะความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ชัดเจน เด็กจำหน้าแม่ได้ เด็กจะแสดงอาการแปลกหน้ากับผู้ที่ไม่ คุ้นเคย และจะติดแม่ เรียกว่า กลัวคนแปลกหน้า (Stranger anxiety)
อายุ 9-12 เดือน
เด็กมีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้เลี้ยงดู (Attachment)และจะติดผู้เลี้ยงดู เมื่อต้องแยกจากพ่อแม่/ผู้เลี้ยงดู เด็กจะร้องไห้และร้องตาม เมื่อพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูกลับมา เด็กจะแสดงความดีใจโผเข้าหาและเข้ามาคลอเคลีย เด็กวัยนี้จะเริ่มกลัวการพลัดพราก (Separation anxiety)
อายุ 12-18 เดือน
-เด็กหัดเดินและชอบสำรวจ ระยะนี้เด็กจะกระตือรือร้นที่จะสำรวจสิ่งแวดล้อมค้นหาสิ่งแปลกใหม่เด็กมัก จะใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสำรวจตรวจตรา ดังนั้นควรระมัดระวังสิ่งที่เป็นอันตราย
- ในวัยนี้เด็กจะทดสอบสิ่งต่างๆ และดูผลของการกระทำต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าพอใจเด็กจะโยนของเล่น ว่าจะตกลงมาอย่างไร ถ้าพอใจเด็กจะโยนซ้ำ ถ้าไม่พอใจเด็กจะหยุดหรือหาวิธีอื่นๆ บางครั้งเด็กจะกรีดร้องจะเอาของมาโยนอีก
- เด็กเริ่มพูดได้ เป็นคำๆอย่างน้อย 10 คำ
อายุ 18-24 เดือน
เด็กเรียนรู้ภาษาอย่างรวดเร็ว และจดจำคำศัพท์ได้ดี
อายุ 2-3 ปี
- เด็กเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
- เด็กรู้ว่าตนเองเป็นบุคคลหนึ่งที่แยกจากสภาพแวดล้อม ทำให้เด็กต้องการเป็นตัวของตัวเอง เด็กจะ พยายาม ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง เช่น จับช้อนตักอาหารเอง เด็กจึงมีพฤติกรรมต่อต้าน (Negativism) ชอบพูดว่า “ไม่” “ไม่เอา” “ไม่ทำ” เป็นต้น
อายุ 3-5 ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
-เด็กบังคับกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น เด็กชอบปีนป่ายเตะบอล รักลูกบอล ชอบเล่นในสนาม เด็กสามารถขี่ จักรยานสามล้อได้ พัฒนาการด้านสติปัญญา
- เด็กเชื่อว่าสิ่งของทุกอย่างมีชีวิติ (Animism) เด็กชอบเล่นสมมุติโดยจะเอาตุ๊กตาตามมาเล่นแล้วสมมุติ เป็นพ่อแม่ลูก แสดงท่าป้อนข้าวลูก อาบน้ำแต่งตัวให้ลูก แสดงเป็นเรื่องราวเหมือนว่าตุ๊กตาเป็นสิ่งมีชีวิต
-เด็กเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดหมาย เด็กมักถามว่า “ทำไม” “ทำไมรถจึงวิ่ง” ฯลฯ
- เด็กจะเชื่อมโยงปรากฎการณ์ 2 อย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกันว่าเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกัน
พัฒนาการด้านภาษา
พัฒนาอย่างรวดเร็ว เด็กชอบใช้คำถาม “นั่นอะไร” “นี่อะไร” “พ่อไปไหน” เด็กสามารถเข้าใจ คำสั่งง่ายๆได้ เด็กอายุ 4 ขวบชอบใช้คำถาม “ทำไม”
พัฒนาการด้านอารมณ์
เด็กเริ่มมีลักษณะอารมณ์แบบผู้ใหญ่ คือ โกรธ อิจฉา กังวล ก้าวร้าว พอใจ เป็นต้น เด็กจะแสดงความโกรธ ด้วยการกรีดร้อง ดิ้นกับพื้น หรือทำร้ายตัวเองแสดงความอิจฉาเมื่อมีน้องใหม่เวลาเล่นสนุกๆก็จะแสดง ความพอใจ แต่เมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้องเด็กก็จะกลัว
พัฒนาการด้านสังคม- เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น อาบน้ำ แต่งตัว ใส่รองเท้าเอง บอกเวลาจะถ่ายได้ ถอดกางเกง เข้าห้องน้ำเอง และทำความสะอาดหลังขับถ่ายได้ - เด็กเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตัว เพื่อให้สังคมยอมรับ ทำตัวให้เข้ากลุ่มได้ รู้จักให้ รับ รู้จักผ่อนปรน รู้จักแบ่งปัน เด็กเรียนรู้จากคำสอน คำอธิบายและการกระทำของพ่อแม่ เด็กรู้สึกละอายใจเมื่อทำผิด เด็กเริ่มรู้จักเห็นใจ ผู้อื่น เมื่อเห็นแม่เสียใจเด็กอาจเอาตุ๊กตามาปลอบ เป็นต้น
 ที่มา:  พัฒนาการ


พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะ 


ความรู้ที่ได้ในวันนี้
อาจารย์ได้แจกกระดาษเอสี่ ให้คนต่อคน หรือ 1:1 แต่ละคนที่ได้รับกระดาษต่างพับแตกต่างกันออกไป บางคนแนวตั้ง บางคนแนวนอน บางคนพับขึ้นพับลง แล้วอาจารย์ก็เลยสรุปพัฒนาการให้ฟังดังนี้ พฤติกรรมหมายถึง การแสดงออกด้วยพฤติกรรมตามความสามารถในแต่ละช่วงระดับอายุ เปลี่ยนไปตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
คำศัพท์ 
assimilation -ซึมซับ
accommodation - การปรับเป็นความรู้ใหม่

ประเมิน
ประเมินตัวเอง : วันนี้เข้าเรียนไม่สาย ได้นำสมุดออกมาจดด้วยเพราะเวลาที่อาจารย์สอน อาจารย์จะพูดไปเรื่อย วันนี้สามารถจดทัน แล้วเราก็ไม่ได้เล่นโทรศัพท์เหมือนแต่ก่อน วันนี้ให้คะแนนการตั้งใจเรียนของเรา 8/10 คะแนน ลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อย อาจเป็นเพราะกินน้ำเยอะไปหน่อย
ประเมินเพือน : วันนี้เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนค่อนข้างดี แต่บางคนที่ยังกดโทรศัพท์มือ เสียงดัง เวลาที่เราจดไม่ทันก็จะเพื่อนบอก อันนี้ประทับใจในตัวเพื่อนมาก คะแนนในการเรียนของในวันนี้ ดูแล้วให้คะแนน 8/10 คะแนน
ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับพัฒนาการ อาจารย์สอนได้ละเอียดอาจารย์ได้มีการอธิบาย แถมยกตัวอย่างประกอบในขณะที่เรียนไปด้วย อาจารย์จะคอยย้ำในที่สำคัญ แล้วถ้าสอนไปผ่านสักระยะ อาจารย์จะวนมาถามอีกรอบ เพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าในการเรียน ว่านักศึกษามีใครที่สนใจไหม เวลาที่อาจารย์กลับมาสอบถาม นักศึกษาสามารถตอบได้ เห็นปฏิกิริยาอาจารย์แกจะยิ้มแย้ม และหัวเราะ อาจเป็นเพราะยังมีคนที่สนใจ และตั้งใจฟังอาจารย์ วันนี้อาจารย์นัดมาสอนวันพุธ อาจารย์ธุระวันศุกร์ ถ้าเป็นอาจารย์อื่นจะปล่อยให้เราหยุด หรือยกคลาสไปเลย แต่อาจารย์ไม่ใช่แบบนั้น อาจารย์ก็หาวันอื่นมาเรียน วันนี้อาจารย์สอนไม่ได้นาน อาจารย์มีประชุมต่อ ความรู้ที่ได้ในวันนี้สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตเพราะอาจารย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ที่ 14  วัน พุธ ที่ 2 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลาที่ 11:00 - 15:00 น . วันนี้อาจารย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียน...